เคาะแล้วผู้ประกันตน ม.33 รับเงินเยียวยา 3 เดือน แต่ต้องส่งเงินมาไม่น้อยกว่า 15 ปี
ความคืบหน้าการเยียวยาลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการที่นายจ้างปิดกิจการเพราะผลกระทบจากการระบาดของเชื้อ ก่อนหน้านี้แรงงานกลุ่มนี้ ถือเป็นกลุ่มที่ไม่เข้าข่ายได้รับความความช่วยเหลือ ล่าสุด บอร์ดประกันสังคม เคาะเสนอให้มีการแก้ กฎกระทรวง เพื่อปรับให้ลูกจ้างกลุ่มนี้ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุสุดวิสัย ซึ่งคาดว่าจะได้เงินเยียวอย่างเร็วที่สุดภายในวันจันทร์ที่ 20 เมษายน นี้
การประชุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา ครั้งที่ 7/2563 หรือ บอร์ดประกันสังคม ที่เป็นการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย ทั้งรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง ได้ข้อสรุปว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ สถานการณ์ตอนนี้เป็น เหตุสุดวิสัยตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งทำให้ต้องมีการแก้ไขกฎกระทรวง เพื่อปลดล็อกให้สามารถ นำเงินใน กองทุนประกันการว่างงาน มาดูแลผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่กำลังได้รับผลกระทบจากการที่นายจ้างปิดกิจการชั่วคราว
นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานบอร์ดประกันสังคม บอกว่า หลังจากนี้ บอร์ดฯ จะจัดทำรายงานผลกระทบวินัยทางการเงิน การคลัง เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันพรุ่งนี้ (15-04-63) ก่อนจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันศุกร์นี้ จากนั้นจึงจะนำเงินกองทุนประกันการว่างงาน ที่มีอยู่ 1.6 แสนล้านบาท มาใช้เยียวยาได้
ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาให้ลูกจ้าง คาดว่าเร็วที่สุดจะสามารถโอนได้ภายในวันจันทร์ที่ 20 เมษายนนี้ แบ่งออกเป็น 2 ล็อต ล็อตแรก คือ กลุ่มที่รัฐฯสั่งปิดกิจการ ส่วนกลุ่มที่นายจ้างปิดกิจการเองชั่วคราว ก็จะทยอยได้รับในลำดับถัดไป ตามคิวการลงทะเบียนของนายจ้างกับสำนักงานประกันสังคม
สำหรับเกณฑ์ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาจากการที่นายจ้างปิดกิจการชั่วคราว ต้องจัดส่งเงินเข้าประกันสังคมอย่างน้อย 15 ปี โดยจะรับเงินชดเชยอยู่ที่ประมาณ 62% จากฐานเงินเดือนที่ส่งเข้าระบบประกับสังคมสูงสุด 15,000 บาท เท่ากับว่า จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 9,300 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลาที่ได้รับกระทบ แต่ไม่เกิน 3 เดือน
สำนักงานประกันสังคม จึงขอให้นายจ้าง ลงทะเบียนเพื่อรับรองการหยุดงานของลูกจ้างจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อได้ที่ เว็ปไซต์ www.sso.go.th ซึ่งปัจจุบันมีนายจ้างเพียง 37,000 แห่ง หรือ คิดเป็นลูกจ้างราว 800,000 คนเท่านั้น ที่แจ้งความประสงค์ของรับสิทธิประโยชน์ต่างๆเข้ามา
วันที่ 14 เมษายน 2563 หลังจากสำนักงานประกันสังคม โดยนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด) แถลงมติ ช่วยเหลือให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ CD 19 กำหนด ให้ CD 19 ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ที่ทำให้ลูกจ้างผู้ประกันตนเกิดการว่างงานเป็นจำนวนมาก และกองทุนประกันสังคมจะต้องจ่ายเงินกรณีว่างงาน เพื่อเยียวยาผลกระทบที่ร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ในระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณเดือนละ 7080 ถึง 8000 บาท ซึ่งขณะนี้กองทุนประกันว่างงานมีเงินรวม 1.6 แสนล้านบาท
โดยจะนำข้อสรุปเสนอขอความเห็นชอบต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 15 เมษายน 2563
หากดำเนินการได้ตามขั้นตอน ประกันสังคมจะสามารถจ่ายเงินอย่างเร็วที่สุดในสัปดาห์หน้าได้แน่นอน เพราะในระบบของกระทรวงแรงงานมีข้อมูลของลูกจ้างและผู้ประกันตัวอยู่แล้ว ประมาณ 700000 คน ที่ว่างงานในระบบ
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจาก CD 19 ในครั้งนี้ ที่ลาออก เลิกจ้าง อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านคน และที่ได้รับผลกระทบจาก CD 19 ตรง ๆ อยู่ที่ 3.5 แสนคน รวมถึงรัฐสั่งปิดอยู่ที่ 8 แสนคน (ล็อตเก่า) ผู้ประกันตนมีทั้งหมด 11 ล้านคน
สำหรับแรงงานที่ว่างงาน ต้องการรับการช่วยเหลือจากประกันสังคม สามารถทำตาม 6 ขั้นตอนดังนี้
ภาพจาก prachachat
ภาพจาก prachachat
ภาพจาก prachachat
ภาพจาก prachachat
ภาพจาก prachachat
ภาพจาก prachachat
ภาพจาก prachachat
ภาพจาก prachachat
ภาพจาก prachachat
หลังว่าข้อมูลจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านนะคะ